ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตู้ปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือ ( SOS CALL POINT )
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตู้ปุ่มกดสัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS CALL POINT) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่กดปุ่ม ระบบจะส่งสัญญาณไปยังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ดูแลพื้นที่ทันที ช่วยให้สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์, ปฐมพยาบาล, ความปลอดภัย หรือการแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ นอกจากนี้ ระบบยังทำงานร่วมกับ ไม้กั้นรถยนต์คิดเงินอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการควบคุมการเข้า-ออก และการคิดค่าบริการที่รวดเร็ว สามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกัน


เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉินกลางแจ้ง แบบตั้งพื้น
เครื่องแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือกลางแจ้ง เป็นอีกหนึ่งเครื่องที่ควรมีในเส้นทางการเดินรถและในพื้นที่สาธารณะ เหมาะกับทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางเปลี่ยว เส้นทางที่มักเกิดอุบัติเหตุ หรือตามมอเตอร์เวย์ (ทางด่วน) เพื่อรองรับผู้เกิดเหตุได้แจ้งขอความข่วยเหลือได้ทันที

อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน ติดผนัง
ตู้ปุ่มกดเรียกแจ้งเหตุฉุกเฉินแบบติดหนัง เป็นตู้ที่อาคารสำนักต่างๆควรมีเป็นอย่างมาก ในมุมที่ลับสายตาผู้คนหรือมุมอับ เพราะอย่างแน่นอนเราไม่สามารถทราบเหตุฉุกเฉินล่วงหน้าได้ ดังนั้นอุปกรณ์แบบติดผนังตัวนี้จะช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุได้ทันท่วงที

ปุ่มกดเรียกขอความช่วยเหลือ ในห้อง
ปุ่มกดเรียกขอความช่วยเหลือ ในห้อง ปุ่มกดเรียกฉุกเฉิน จะพบกันบ่อยตามโรงพยาบาลหรือคลีนิค และในบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ทำให้ลดความกังวลและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลเพราะบ้างครั้งผู้ดูแลไม่สามารถอยู่ได้ตลอดเวลา
สินค้าเกี่ยวกับ ระบบแจ้งเหตุ อุปกรณ์ปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน
เสา SOS ตู้แจ้งเหตุกลางแจ้ง รุ่น CP-SOS-EM-26
ปุ่มกดฉุกเฉิน Emergency Call รุ่น CP-SOS-ZD13
ระบบเรียกพยาบาล SOS แบบสวมใส่ รุ่น QS-WC19
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในสถานที่ลานจอดรถ มีไว้ทำไม ?
ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินในลานจอดรถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในบริเวณนั้น ไม่ว่าจะช่วยเหลือกรณีอุบัติเหตุในลานจอดรถ เหตุอาชญากรรม หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบจอดรถเพราะบางครั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยอาจไม่ได้อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุหรือมาช่วยไม่ทัน นอกจากนี้ การเชื่อมต่อกับไม้กั้นรถยนต์อัตโนมัติ ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการควบคุมการเข้า-ออกของลานจอดรถ ช่วยให้ลานจอดรถเป็นพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น


เหตุผลที่ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน มีไว้ในระบบลานจอดรถ
ลานจอดรถเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่ออุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น อาชญากรรม การโจรกรรม รถชนกัน หรือเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ การติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินในลานจอดรถจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
ระบบปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉินเหมาะสำหรับติดตั้งที่ใดบ้าง ?
ระบบปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉินเหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือมีการใช้งานบ่อย เช่น ลานจอดรถ, บริเวณทางเข้า-ออกของอาคาร, ห้องผู้สูงอายุ, และบริเวณที่มีผู้คนผ่านไปมาหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น บริเวณริมถนนหรือใต้ทางด่วน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
สถานที่ที่จำเป็นต้องติดอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน
- ห้องผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงต่ออุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม หรือหัวใจวาย ควรติดปุ่มขอความช่วยเหลือข้างเตียงนอน เพื่อให้กดเรียกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน, ภายในห้องน้ำ เนื่องจากเป็นจุดที่มีโอกาสลื่นล้มมากที่สุดหรือในบริเวณที่มีเก้าอี้นั่งพักผ่อน เช่น ห้องนั่งเล่น
- การทางหลวงพิเศษ (ทางด่วน, มอร์เตอร์เวย์) : เป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นและความเร็วสูง หากเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสียต้องสามารถขอความช่วยเหลือได้ทันที ควรติดทุกระยะ 1-2 กิโลเมตร บนทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์ บริเวณ จุดพักรถและด่านเก็บเงินจุดทางออกและทางเข้า เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่พบเห็นเหตุการณ์สามารถแจ้งเหตุได้
- โรงเรียน : โรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีนักเรียนจำนวนมาก อาจเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน หรือภัยคุกคามด้านความปลอดภัย ควรติดบริเวณด้านในอาคารเรียน ชั้นเรียนและทางเดินหลัก โรงอาหาร สนามเด็กเล่น และบริเวณป้อมยาม
- โรงพยาบาล : แม้โรงพยาบาลจะมีระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินภายในอยู่แล้ว แต่การติดตั้งปุ่มกดเพิ่มเติมในจุดสำคัญจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือ ควรติดบริเวณห้องพักฟื้นผู้ป่วย และห้องฉุกเฉิน ทางเดินและโถงรอผู้ป่วย ลานจอดรถและบริเวณทางเข้า-ออกของโรงพยาบาล
- เกาะกลางถนน : เป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นทางข้ามหรือจุดตัดของถนน ควรติดบริเวณจุดทางข้ามที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร บริเวณสะพานลอยที่เชื่อมต่อเกาะกลางถนน และจุดกลับรถที่มีการจราจรหนาแน่น
