ปุ่มกดเรียกฉุกเฉิน หรือ เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS CALL POINT ) By DPARK ของเรานี้ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เรียกขอความช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินฉับพลันขึ้น หรือเกิดเหตุที่ต้องการแจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายต่างๆ โดยทั่วไปแล้วสามารถติดตั้งใช้งานได้ในหลากหลายพื้นที่ เช่น อาคารลานจอดรถ , อาคารสำนักงาน , โรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งริมชายหาด ก็สามารถติดตั้งใช้งานได้เช่นกัน
ปุ่มกดเรียกฉุกเฉิน หรือ ปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน หรือ เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS CALL POINT )
ปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน หรือ SOS Call Point ของ DPARK ของเรานี้ มีหลากหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือกใช้ อยู่ที่ความเหมาะสมของสถานที่ในการติดตั้ง ซึ่งตัวอุปกรณ์เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉินของเราสามารถกันน้ำได้ และสามารถพูดคุยห่างจากอุปกรณ์ได้ถึง 80-100 เซนติเมตร ปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน DPARK มีดังต่อไปนี้
-
เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบติดตั้งที่ผนัง
เครื่องเรียกฉุกเฉินรุ่นนี้ นิยมติดตั้งที่อาคารจอดรถ ทางบันไดหนีไฟ หรือ อาคารสำนักงานต่างๆ ก็สามารถติดตั้งใช้งานได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งไว้เป็นอุปกรณ์สริมในระบบบริหารลานจอดรถนั่นเอง



-
ปุ่มกดแจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบตั้งพื้น
ตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบตั้งพื้นนี้ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น สามารถติดตั้งใช้งานกันได้ในหลายๆ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น บริเวณการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ทางด่วน) เพื่อให้ผู้ที่อาจจะประสบเหตุอยู่บนทางด่วนนั้นได้เรียกเจ้าหน้าที่มาช่วงเหลือ หรือจะเป็น บริเวณสวนสาธารณะ ก็สามารถติดตั้งไว้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นขอความช่วยเหลือได้เช่นกัน เป็นต้น



-
ตู้กดเรียกฉุกเฉิน แบบตั้งพื้นพร้อมแผงโซล่าเซลล์
ตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบตั้งพื้นพร้อมโซล่าเซลล์นั้น เป็นการนำเครื่องกดเรียกฉุกเฉินแบบตั้งปกติมาประยุกต์ใช้กับแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้แผงโซลล่าเซลล์สามารถกักเก็บพลังงานไว้ใช้กับไฟกระพริบที่หัวเสาได้ในเวลากลางคืนนั่นเอง




วิดีโอทดสอบใช้งานปุ่มกดเรียกฉุกเฉิน เครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน SOS Call Point
วิดีโอนี้เป็นการทดสอบระบบการใช้งานเครื่องเรียกฉุกเฉิน หรือ SOS Call Point ที่ทาง DPARK เราได้ไปติดตั้งใช้งาน จากในคลิปจะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้องไปพูดใกล้ๆ อุปกรณ์ แต่สามารถพูดในระยะ 100 เซนติเมตร ปลายทางเองก็สามารถได้ยินที่เราพูด และสามารถโต้ตอบกลับมาได้อย่างชัดเจนเช่นกัน
รูปแบบการวางโครงสร้างสำหรับใช้งาน อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน SOS Call Point
ในแต่ละพื้นที่จะมีการวางโครงสร้างสำหรับใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ แต่หลักๆ จะมีอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันอยู่ประมาณ 3 – 4 อย่าง ดังภาพผังโครงสร้างการใช้งานเครื่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน SOS Call Point ตัวอย่างด้านขวามือนี้
จากภาพ จะเห็นได้ว่า มีอุปกรณ์หลักๆ ในการใช้งานระบบเครื่องกดเรียกฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้
- Call Point แล้วแต่รูปแบบที่ลูกค้าต้องการใช้งาน จะเป็นแบบติดผนัง หรือจะเป็นตั้งพื้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
- Network Switch สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน
- Operator Console หรือแผงควบคุม สำหรับติดตั้งในห้องปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องทำการรับเรื่องแจ้งเหตุ
- Server สำหรับเป็นเครื่องหลักในระบบปฏิบัติการทั้งหมดของระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน
ทั้งนี้ยังมีตัวอย่างของรูปแบบผังการวางโครงสร้างในการติดตั้งระบบปุ่มกดเรียกฉุกเฉิกตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผังติดตั้งที่สถานีรถไฟฟ้า หรือ จะเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น

ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS Call Point ) สถานที่รถไฟฟ้า

ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ( SOS Call Point ) สถานที่รถไฟใต้ดิน
ตัวอย่าง อุปกรณ์ Operator Console ที่จะใช้ติดตั้งในระบบห้องปฏิบัติการ

Operator Console for Call Point System

Operator Console for Call Point System

สถานที่ที่สามารถติดตั้ง อุปกรณ์เรียกฉุกเฉิน ตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน เครื่องกดเรียกฉุกเฉิน ( SOS Call Point ) ได้มีดังนี้
- สวนสาธารณะ
- อาคารสำนักงาน
- อาคารจอดรถ
- สถานที่ท่องเที่ยว
- แหล่งชุมชน
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ( ทางด่วน )
- ห้างสรรพสินค้า
- ภายในมหาวิทยาลัย
- บริวณริมถนนจุดต่าง ๆ
- ชายหาด ก็สามารถติดตั้งใช้งาน เพื่อเรียกเจ้าหน้าที่เวลาที่เกิดเหตุต่างๆ ได้
- ฯลฯ
นอกจากนี้ในตัวลิฟท์ที่ใช้งานภายในอาคารสำนักงานนั้น ที่จริงแล้วก็จะมี Call Point System ติดตั้งไว้ใช้งานเช่นกัน เพื่อป้องกันเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ลิฟท์ค้าง การทำงานขัดข้อง คนภายในลิฟท์ก็จะสามารถกดเรียกขอความช่วยเหลือไปยังคนด้านนอกได้นั่นเอง